บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2018

รู้ว่าคิด...คิดว่ารู้

รูปภาพ
รู้ว่าคิด....คิดว่ารู้                สำหรับนักปฏิบัติธรรมนั้น การรู้เท่าทันความคิด เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็มีอีกจำนวนมากด้วยกัน ที่คิดว่ารู้แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดจากโมหะอย่างหยาบของตนเอง มักเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติที่มีความเพียรไม่มากพอ มีความอดทนน้อยไป แต่มีความคิดมากและหลงเชื่อว่าตนเองรู้ดีแล้วจากการปฏิบัตินั้นๆ จากนั้นก็หลงวนเวียนอยู่กับความคิดความเชื่อของตนเองในหัวข้อธรรมนั้นๆ หรือในการคิดวิเคราะห์ของตนเอง จนไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นใดๆ หรือจะรับฟังก็ต่อเมื่อความเห็นนั้นๆเข้าได้ด้วยกันกับฑิฐิของตนเองเท่านั้น เรื่องแบบนี้ข้าพเจ้ามองเห็นเป็นปัญหาเบื้องต้นของนักปฏิบัติธรรมซึ่งจริงๆแล้วก็แก้ได้ไม่ยาก เพียงแต่ความหลงมัวเมาในสิ่งที่ตนรู้สิ่งที่ตนคิดขึ้นมานั้น หอมหวนชวนสนุกสนานตื่นเต้นระรานใจยิ่งนัก ก็เลยไม่อยากจะออกจากวังวนนั้น                ผมเข้าใจดีว่าทำไมครูบาอาจารย์ถึงไม่เสียเวลามาสอนคนพวกนี้ เพราะกับคนอวดเก่งอวดดี ทั้งๆที่ไม่มีดีและไม่เอาไหนเลย สู้เอาเวลาไปภาวนาของท่านเงียบๆดีกว่า เจอคนจำพวกนี้เข้าแล้ว ท่านก็จะอืมมมมม.... ดีดีดี เอาล่ะ...ดีแล้วนะ... ท่านก็ตอบเพื่อให

จิตเดิมแท้ จิตพุทธะ

รูปภาพ
จิตเดิมแท้                “จิตของพระพุทธเจ้า จิตของพระอรหันต์ จิตของคนทั้งหลาย จิตของสัตว์เดรัจฉาน จิตของสัตว์นรก ก็เป็นจิตดวงเดียวกัน” ผมไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ของท่านผู้หนึ่ง ต่อเมื่อมีครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ในลักษณะใกล้เคียงกันนี้ ข้าพเจ้าก็ไม่สู้จะเห็นด้วยสักเท่าไร เนื่องจากจิตขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จิตของพระอรหันต์ขีณาสพ จะมาเปรียบเทียบกับจิตของปุถุชน จิตของสัตว์เดรัจฉานว่าเป็นจิตดวงเดียวกันนี้ได้อย่างไร ดูจะเป็นการปรามาสครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิตเลยทีเดียว ข้าพเจ้ารับไม่ได้ เพราะข้าพเจ้ายังเป็นเพียงปุถุชนคนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส ลำพังเอาจิตตัวเองไปเปรียบเทียบกับกัลยาณชนยังรู้สึกละอายแก่ใจ ซึ่งก็ถูกแล้วเพราะข้าพเจ้าเป็นปุถุชนมีจิตอันหนาแน่นไปด้วยกิเลส จะไปเข้าถึงจิตเดิมแท้ จิตพุทธะ ได้อย่างไร                ต่อเมื่อผ่านการฝึกฝนจนได้พบเห็นสภาวธรรมตามที่ครูบาอาจารย์ท่านได้เคยกล่าวถึงเอาไว้นั้น และได้พบเห็นจิตเดิมแท้ อันเป็นจิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีมาแต่เดิม จิตประภัสสร หรือจิตพุทธะ หรือจิตหนึ่ง ก็สุดแท้แต่จะเรียกกัน ตามสมมติของแต่ละบุคคล ซึ่งก็คื