บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2017

กรรม ตอนที่ 5

รูปภาพ
กรรม ตอนที่ 5                 กรรมนี้ มีทั้งกรรมดี กรรมชั่ว กรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว และกรรมที่ดีกับชั่วไปด้วยกัน สำหรับกรรมที่ทำร่วมกันของคนหมู่มาก ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง กรรมดี ที่หลายคนร่วมกันทำถวายกฐิน ผ้าป่า สังฆทาน วิหารทาน ได้ร่วมแรงร่วมใจทำบุญทำกุศลร่วมกัน ณ เวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่หนึ่งสถานที่ใด ดวงจิตดวงใจของแต่ละคนย่อมสืบสานสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อเนื่องถึงกันหมด ด้วยสัญญาภายนอกนึกคิดที่จะไปร่วมบุญ มีเจตนาของการไปทำบุญเกิดขึ้นที่สัญญาภายใน เกิดเป็นกุศลเจตนาที่ฝังลงในสัญญาที่อยู่กับจิต อันมีบุคคลทั้งหลายที่ร่วมกันคิดร่วมกันสร้าง บันทึกไว้ในสัญญาภายในร่วมกัน  ผลของกรรมนี้จะมาเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีองค์ประกอบในลักษณะนี้คือ 1.              บุคคลผู้นำบุญในเวลานั้นได้ลงมาเกิดแล้ว ในเวลาอันพอเหมาะพอดีกับที่ผู้ร่วมบุญได้ลงมาเกิดด้วย โดยพร้อมเพียงกันครบทุกๆคน 2.              ได้มาพบเจอกัน ในเวลาอันเหมาะสม ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง 3.              ได้ร่วมปฏิสัมพันธ์คบหากันจะด้วยสถานะอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม 4.              กรรมเก่าในด้านความดีจึงจะมาส่งผล ในเวลานั้นพร้อมๆกัน 5.         

กรรม ตอนที่ 4

รูปภาพ
กรรม ตอนที่ 4                 กรรมที่เกิดจากการกระทำที่ส่งผลต่อบุคคลอื่น เกิดขึ้นจากผัสสะภายนอกก่อน ว่าตาเห็นรูป หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายรับสัมผัส ได้รับความกระทบกระเทือนมาถึงสมองเกิดสัญญาความจำภายนอก ส่งต่อมายังสัญญาภายในคือที่จิตใจ เกิดการปรุงแต่ง เป็นอารมณ์ รัก ชัง ดี ร้าย พอใจ ไม่พอใจ ส่งไปส่งกลับแบบนี้ 7 รอบ สติตามรู้ตามดูไม่ทันหรอก มันเร็วกว่าแสง เร็วกว่าความคิด                 อารมณ์ที่เกิดที่จิตใจ สมมติว่าเป็นอารมณ์โกรธ อาฆาต ก็จะส่งไปที่สัญญาภายนอกคือความจำที่สมองแล้วคิดฟุ้งปรุงแต่งหาทางทำร้าย บุคคลผู้นั้น คิดวางแผน หาคนร่วมมือ หาเครื่องมือมาประกอบ รอจังหวะเวลา ลงมือกระทำ ให้เป็นไปตามเจตนาที่ตั้งไว้ ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่เกิดอารมณ์ร้ายขึ้นที่จิต ไปจนกระทั่งลงมือกระทำจนเป็นผลสำเร็จ บุคคลผู้นั้นได้ถูกทำร้ายทำลายลง มีการส่งข้อมูลระหว่าง สัญญาภายนอก ไปบันทึกไว้เป็นสัญญาภายใน โดยผ่านสังขาร ความคิดนึกปรุงแต่ง และอุปทานความยึดมั่นถือมั่น นับร้อยๆพันๆเที่ยว จึงเกิดเป็นสภาวะกรรมบันทึกเอาไว้ที่สัญญาภายใน ซึ่งในปุถุชนทั้งหลาย สัญญา สังขาร อุปทานเหล่านี้ หลอมรวมกันอย

กรรม ตอนที่ 3

รูปภาพ
กรรม (ตอนที่3)                 กรรมนี้ก่อเกิดจากเจตนา คือ จากสัญญาภายนอก มาถูกปรุงแต่งเป็นสังขาร แล้วบันทึกเป็นสัญญาภายใน จากสัญญาภายใน ก็ส่งไปปรุงแต่งต่อยังสังขาร เกิดเป็นเจตนาดี เจตนาชั่ว ที่จิตก่อน แล้วก่อกรรมนั้น ด้วยมโนกรรมที่ความคิด เมื่อระงับไว้ที่ความคิดไม่ได้ ก็ทะลักออกทางปากเป็น วจีกรรม เมื่อวจีกรรมก็ยังไม่พอ ก็เกิดเป็นกายกรรมขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว กรรมนั้นก็ย้อนกลับมาบันทึกลงที่สัญญาภายในจิตใจของตน กรรมดีก็บันทึกไว้ กรรมชั่วก็บันทึกเอาไว้ กลายเป็นสัญญากรรม ที่ตามผูกพันกันข้ามภพข้ามชาติ กรรมหนักก็ บันทึกไว้อย่างหนักหน่วงเด่นชัด กรรมเบาก็บันทึกไว้อย่างเบาบาง ไม่เด่นชัด                 กรรมที่เกิดขึ้นแล้ว รับรู้และได้รับผลกระทบอยู่เพียงลำพังตัวคนเดียวก็มี เช่นกรรมจากการฆ่าตัวตาย ที่บอกกันว่ากรรมจากการฆ่าตัวตายทำให้ต้องกลับมาเกิดแล้วฆ่าตัวตายซ้ำๆกันอีก500ชาติ จนเป็นที่สงสัยว่า พอฆ่าตัวตายชาติที่2 ก็ต้องบวกไปอีก 500 ชาติ เป็น 999 ชาติ พอเกิดชาติที่3 ฆ่าตัวตายก็บวกไปอีก 500 ชาติ ทวีคูณขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่จบกันล่ะสิ แสดงว่าเกิดมาชาติไหนๆก็ต้องฆ่าตัวตายตลอด ทำให้เกิดความสง

กรรม ตอนที่ 2

รูปภาพ
กรรม ตอนที่ 2 สัญญา                 สัญญาคือความจำได้หมายรู้ เป็นความหมายที่ทุกคนเข้าใจกันเป็นอย่างดี เรียนมาฟังมาก็เป็นแบบนี้ แต่ว่าในที่นี้ จะขอแยกสัญญาออกเป็นสองประการ ตามประสาผู้หลงในธรรม ท่านผู้อ่านทั้งหลายก็ขอได้โปรดอย่าถือสา เพราะว่าผู้เขียน เขียนตามประสาผู้ที่หลงในธรรม ไม่ได้เขียนในฐานะผู้บรรลุธรรม ดังนั้นอย่าถือเอาเป็นเรื่องทะเลาะถกเถียงกันนะครับ                 สัญญา ประการที่หนึ่งคือ ความจำได้ของสมอง ซึ่งเราทุกคนเรียนรู้ จดจำสิ่งต่างๆนับตั้งแต่เกิด จนวันตาย อ่านหนังสือออก เขียนหนังสือได้ ก็มาจากความทรงจำส่วนนี้ จากสมอง ที่มีลืมกันบ้าง ก็เรียกกันไปว่า สัญญาไม่เที่ยง สัญญาอนิจจา พอสมองได้รับความกระทบกระเทือนก็เกิดความจำเสื่อม หรือพอแก่ตัวเป็นอัลไซเมอร์ก็จำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว                 สัญญาประการที่สองคือ ความจำได้ของจิต หรือจะเรียกว่าความทรงจำของจิต ที่หลายคนระลึกชาติได้ก็อาศัยสัญญาในส่วนนี้ ตามเดิมนั้นสัญญา สังขาร อุปทาน รวมกันอยู่กับจิต ภายหลังเมื่อข้าพเจ้าเห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม แล้วได้ย้อนกลับออกมาพิจารณาอยู่ภายนอกแล้วนั้น จึงได้เห็นว่า จิตก็อยู่ส่

กรรม ตอนที่ 1

รูปภาพ
กรรม ตอนที่ 1 สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ไม่มีใครใหญ่เกินกรรม กรรมเป็นเรื่องซับซ้อน                 เราทุกคนคุ้นเคยกับคำว่า”กรรม” และคุ้นเคยกับวลีต่างๆเหล่านี้ข้างต้นเป็นอย่างดี แต่จะมีใครเข้าใจบ้างว่า ทำไมสัตว์โลกจึงต้องเป็นไปตามกรรม กรรมนี้ใครกำหนด ทำไมกรรมนี้จึงใหญ่กว่าทุกสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทำไมถึงเรียกกรรมว่า ซับซ้อน และจัดว่าการล่วงรู้กรรม เป็น พุทธวิสัย ไม่ใช่วิสัยของสาวกภูมิ ซึ่งที่จริงแล้ว สาวกภูมิก็สามารถล่วงรู้กฎของกรรมได้เช่นกัน แต่ไม่มาก ไม่ลึกซึ้ง กว้างขวางเหมือนเช่นพระพุทธะ และอีกพวกหนึ่งที่สามารถล่วงรู้ได้ คือท่านที่เป็นพระโพธิสัตย์ที่บำเพ็ญบารมีมาใกล้เต็มแล้ว ท่านเหล่านี้ต้องศึกษาค้นคว้า ด้วยกำลังฌานสมาบัติ โดยอาศัยบารมีของตนด้วย อาศัยพุทธบารมีด้วย เพื่อนำเอาความรู้นี้เป็นองค์ประกอบในการอบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ ตามวิสัยที่สัตว์ทั้งหลายเคยมีอันเป็นไปมาก่อน                 คำว่า”กรรม” ต้องประกอบด้วย เจตนาที่จะกระทำลงไป ได้ลงมือกระทำลงไป ผลของการกระทำได้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่เจตนาต้องการ เมื่อนั้นจึงเกิดเป็นกรรม  กรรมนี้ข้าพเจ้าพิจารณาแล้วเห็นว่ามีด้วยกันอยู่

ผู้ไม่ยึดติด(3)

รูปภาพ
ผู้ไม่ยึดติด(3)                  คุณธรรมของผู้ไม่ยึดติดในตัวเองว่านี่คือตัวเรานั้น จะให้เขียนสัก 100 ตอนก็เขียนได้ แต่ว่าท่านผู้อ่านจะเมาธรรมเช่นเดียวกับผมผู้เขียนไปด้วย ธรรมะเป็นสิ่งประเสริฐ แต่การเมาธรรมะกลับไม่ใช่สิ่งที่ประเสริฐ ก็จะขอยกตัวอย่างของผู้ไม่ติดยึดเอาไว้เพียง 3 ตอนเท่านั้น พอเป็นเครื่องพิจารณาโดยสังเขป ดังนี้คือ...     1.       ผู้ไม่ยึดติดนั้น จะเป็นผู้มีน้ำใจงาม เป็นผู้ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ใครมีเรื่องเดือดร้อนสิ่งใด ถ้าสามารถจะเข้าไปช่วยเหลือได้ โดยตนเองไม่ได้เดือดร้อนมากนัก ไม่เป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์ ไม่เป็นที่รังเกียจต่อสังคมชนหมู่มาก และผู้รู้ย่อมสรรเสริญในสิ่งที่จะได้ช่วยลงไปแล้วนั้น คนที่ไม่ยึดติดในร่างกายของตนแล้ว จะยินดีเข้าไปช่วย โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยยุ่งยาก แต่ในเมื่อจะช่วยแล้ว ทำไมต้องมีเงื่อนไขหลายอย่าง ว่าต้องไม่ละเมิดอันโน้นบ้าง ไม่ละเมิดอันนี้บ้าง ต้องไปเกรงกลัวอะไร ในเมื่อบอกว่ามีน้ำใจและไม่ยึดติดแล้ว นี่แบบนี้แสดงว่ายังยึดติดอยู่ล่ะสิ ก็ต้องขอตอบว่า บุคคลที่ไม่ยึดติดในตัวตนแล้วนั้น ท่านยังยึดติดในพระรัตนตรัย คือยังมีใจรักในพระพุทธ พระธ

ผู้ไม่ยึดติด(2)

ผู้ไม่ยึดติด(2)                 การเป็นผู้ยึดติดนั้นหมายเอาถึงผู้ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนนี้ว่านี่คือตัวเรา เมื่อมีตัวเราแล้วจึงมีตัวเขา ของเรา ของเขา เกิดสืบเนื่องกันต่อๆไปวนเวียนสลับซับซ้อนกันไปหาที่สุดไม่ได้ การหยุดวัฏจักรนี้จึงต้องหยุดที่การยึดมั่นถือมั่นว่านี่คือตัวตนของเรา เมื่อตัดตรงนี้ได้แล้ว วัฎจักรก็หมุนของมันไปนั่นแหละ แต่เราไม่หมุนไปด้วยกับวัฎจักรอีกต่อไปแล้ว การจะตัดความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือว่า สักกายะฑิฐินั้น ครูบาอาจารย์สอนโดยอาศัย สติปัฎฐาน4 วิปัสสนาญาณ9 อสุภะ10 ธาตุ4 อาการ 32 กายคตานุสติกรรมฐาน มีอยู่มากแล้วด้วยกัน ซึ่งในที่สุดแล้ว เมื่อได้รู้ธรรมเห็นธรรมอันบังเกิดแก่จิตโดยไม่มีภาษา ไม่มีเหตุ ไม่มีผล ไม่มีเบื้องหน้า ไม่มีเบื้องหลัง ไม่มีที่มา ไม่มีที่ไป ในสภาวธรรมที่แจ้งกระจ่างในใจตนถึง สัจจะความจริงถึงการไม่มีอยู่ของตัวตนอย่างแท้จริงแล้ว ความยึดมั่นถือมั่นใจตัวตนจึงจะสลายหายไปเองใน ณ บัดนั้นเอง โดยไม่มีใครมาทำลายมันลง และไม่มีใครเอาอะไรมาเติมใส่เข้าไป ปัญญาของตนเองนั้นจะแจ้งด้วยตัวของมันเอง ความเชื่อก็หมดไป ความไม่เชื่อก็หมดไป ความสงสัยก็หมดไป จิตก็กลับเข้าสู่สภ

ผู้ไม่ยึดติด(1)

รูปภาพ
ผู้ไม่ยึดติด (1)                 ในความหมายของคำว่า ผู้ไม่ยึดติด นั้น หมายเอาการไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน สังขาร ร่างกาย ของตนเองเป็นสำคัญ มีความสำคัญผิดในเรื่องนี้อยู่ด้วยกันหลายประการมาก เช่นว่า -                     ไม่ยึดติดในร่างกายนี้แล้ว เวลาป่วยก็ไม่ไปรักษาหาหมอ ปล่อยมัน ช่างมัน มันจะตายก็ดี เราจะได้ไปนิพพาน... / แบบนี้ใช้ไม่ได้นะครับ เป็นความเห็นผิดของผู้ที่ยังไม่ได้เข้าสู่ภูมิของโสดาปัตติมรรคแต่อย่างใด เพราะอารมณ์ไม่ยึดติดในร่างกายนี้ ต้องเกิดจากปัญญาเห็นตามความเป็นจริงแล้วว่า ร่างกายนี้ เนื้อแท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกายนี้ ร่างกายนี้ไม่มีในเรา สักวันหนึ่งเราต้องตายอย่างแน่นอน เมื่อตายแล้วก็เน่าเปื่อยผุพัง เหมือนคนอื่นๆก่อนหน้านี้ ร่างกายนี้จึงเป็นเหมือนสิ่งที่ยืมเอามาจาก ธาตุทั้ง 4 เท่านั้นเอง ถึงเวลาก็ต้องคืนเขากลับไป เมื่อยืมเขามาแล้ว ในเวลาที่ยังยืมอยู่ ก็ต้องดูแลให้ดีตามสมควร ไอ้คำว่า ดีตามสมควรนี่คือ ดูแลรักษาร่างกายนี้ตามลักษณะอาการที่สมควรจะได้รับบำบัด รักษา บำรุง ให้เพียงพอต่ออัตภาพ ไม่ใช่ทำร้าย ทรมาน ทำให้ขัดสน นั่นไม่ใช่ แต่ก็ไม