บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2018

มหาสติปัฏฐาน๔ฉบับหลงธรรมตอนที่๔

รูปภาพ
มหาสติปัฏฐาน๔ฉบับหลงธรรมตอนที่๔ ธรรมในธรรม                 หมวดสุดท้ายนี้ ในความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า เห็นว่ายากที่สุดแล้ว และยังไม่อาจคาดการณ์ใดๆล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดสภาวะธรรมใดๆ เมื่อไหร่ อย่างไร พอจะบอกได้ว่า จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมรรคสมังคีแล้วเท่านั้น มรรคสมังคีคือ เมื่อมรรคทั้ง๘ประการมีความสมบูรณ์พร้อมแล้ว มีกำลังของสมาธิ สติ ปัญญา เสมอกัน ไม่มากไป ไม่น้อยไป พอดิบพอดี ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่า พอดิบพอดีของแต่ละท่านอยู่ที่ตรงไหน บอกไม่ได้ว่าต้องมีความเพียรแก่กล้าเท่าใด เนื่องจากตึงไปก็ไม่เกิดผล หย่อนไปก็ไม่ได้ มัชฌิมาปฏิปทา พูดง่ายจำมาพูดได้แต่เวลาทำจริงๆ ตรงที่ว่าทางสายกลางนั้นแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน กลางของแต่ละคนจะให้อีกคนนึงทำก็ไม่ได้ผล                 สิ่งหนึ่งที่ยังคงเหมือนกันในหมวดของธรรม ก็คือ มีสติตามดูจิต เพียงแต่ว่าเมื่อมาถึงตรงจุดนี้แล้ว สติย่อมเป็นมหาสติ มีสมาธิตั้งมั่นได้ดีแล้วอย่างมั่นคง มีความกล้าหาญ องอาจ แกล้วกล้า ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งภายนอกและภายในที่จะเกิดขึ้น ไม่มีเวลาที่ว่างเว้นจากการภาวนา มีสติตามดูจิตไม่ว่างเว้นทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งในยามหลับและ

มหาสติปัฏฐาน๔ฉบับหลงธรรมตอนที่๓ จิตในจิต

มหาสติปัฏฐาน๔ฉบับหลงธรรมตอนที่๓ จิตในจิต                 ลำพังเพียงเรื่องของจิตนั้น ก็นับว่าเป็นความยุ่งยากสลับซับซ้อนมากมายทีเดียว จะอธิบายให้ง่ายก็ดูจะเป็นเรื่องยาก เพราะสำหรับหลายท่านแล้ว จิตคืออะไร มีลักษณะอาการอย่างไร มีรูปลักษณะนามแบบไหน ก็ยังจำแนกไม่ได้ ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า ตัวข้าพเจ้าเองก็เคยเป็นแบบนี้มาก่อน และไม่ว่าครูบาอาจารย์จะอธิบายอย่างไร ข้าพเจ้าก็ไม่มีความเข้าใจคำว่า “จิต” เลย                 เท่าที่พอจะสมมติมาอธิบายคำว่าจิต ที่ใกล้เคียงที่สุดก็คงเป็น “สภาวะว่างๆ” นั่นเอง แล้วสภาวะว่างๆแบบไหนหรือจึงจะหมายถึงจิต ถ้าจะอธิบายถึงสภาวะว่างๆที่เรียกว่าจิตนี้ ก็ต้องขออธิบายถึงสภาวะไม่ว่างเสียก่อน กล่าวคือ เมื่อเกิดอารมณ์ใดๆขึ้นมา นั่นคือสภาพที่จิตเสวยอารมณ์นั้น จนปรากฏให้เห็น เช่น อารมณ์โกรธ ก็จะเกิดสภาวะที่จิตไม่ว่างเสียแล้ว แต่จิตแปรสภาพจากว่างมาเป็นโกรธ เราจะสามารถเห็นจิตที่มีสภาวะโกรธนี้ได้ เมื่ออารมณ์โกรธเกิดขึ้นแล้ว ความคิดก็จะเกิดขึ้น ซึ่งความคิดตรงนี้เองที่เกิดจากการปรุงแต่งโดยสังขารภายในจิต                 เนื่องจากจิตมีการเปลี่ยนแปลงสภาวะต่างๆอ